วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ปัญหายาเสพติด
ปัญหายาเสพติด
การระบาดของยาเสพติดที่แพร่หลายอยู่ในประเทศไทยเราขณะนี้เป็นปัญหาที่ดูเหมือนว่า จะไม่มีทางแก้ไขได้สำเร็จ การปราบปรามอย่างรุนแรงทั้งด้วยปืนของตำรวจและด้วยปาก ของนักการเมือง ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดยั้งการแพร่กระจายของยาเสพติดที่แทรกแซง เข้าไปยัง ประชากรทุกหมู่เหล่า ทุกเพศทุกวัยได้เลย ปริมาณยาเสพติดที่ยึดได้หากนำมารวมกันทั้งหมดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน น่าจะนำไปใช้ ถมที่ดินเพื่อก่อสร้างสนามบินแห่งที่สอง เป็นการประหยัดทรายได้มิใช่น้อย
ปัญหายาเสพติดมิใช่ปัญหาของบ้านเราเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของทุกประเทศในโลก ต่างกันแต่เพียงระดับความรุนแรงและประเภทของยาเสพติดเท่านั้น
การแก้ปัญหายาเสพติด จำเป็นต้องเข้าใจสาเหตุ และกลไกการเกิดปัญหา เพื่อที่จะได้ หาทางแก้ไขได้ครบวงจร มิใช่ไปเน้นที่จุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น
ปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน มีความเกี่ยวข้องทั้งด้านชีววิทยา, สุขภาพจิต, อาชญากรรม, การเมือง, เศรษฐกิจและสังคม
1. ความต้องการฤทธิ์อันพึงประสงค์ของยาเสพติด
สารใดก็ตามที่มีฤทธิ์แบบนี้ต่อผู้เสพ ย่อมทำให้เกิดการเสพติดได้ทั้งสิ้น คนที่ดื่มเหล้าก็ต้องการให้เกิดอารมณ์ครื้นเครง (euphoria) ยาเสพติดชนิดร้ายแรงสามารถทำให้เกิด ความรู้สึกเป็นสุข เคลิบเคลิ้มมากกว่าปกติ ที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า "high" หรือพวกติดยาเสพติดในบ้านเราเรียกว่า "พี้" ในบรรดาสารเสพติดทั้งหลาย เฮโรอีนเป็นสารที่ทำให้เกิดฤทธิ์แบบนี้มากที่สุด เพราะเป็นสารที่ร้ายแรงที่สุดในกลุ่มสารที่ทำจากฝิ่น ในทางการแพทย์มีที่ใช้บ้างคือ ใช้มอร์ฟีนเป็นยาแก้ปวด ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดรุนแรง เช่น หลังผ่าตัดหรืออาการปวดจากมะเร็งในระยะท้าย ๆ
ประสบการณ์ของผู้ติดยาเสพติดทั้งหลายต่างยอมรับว่า เฮโรอีน ให้ผลอันพึงประสงค์ ต่อผู้เสพ ได้มากที่สุด โดยเฉพาะเฮโรอีนเกล็ดขาวบริสุทธิ์ที่มีขายในบ้านเรา แต่ในปัจจุบันนี้ ราคาสูงมาก จนทำให้ผู้เสพหันไปใช้สารอื่นที่มีราคาถูกกว่า เช่น สารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งแอมเฟตามีนเป็นตัวที่ขายดีที่สุด สารพวกนี้มีฤทธิ์เสพติดน้อยกว่า และอาการถอนยาไม่รุนแรงเท่าเฮโรอีน แต่ทำให้เกิดอากุนแรงเท่าเฮโรอีน แต่ทำให้เกิดอากความต้องการฤทธิ์อันพึงประสงค์ของยาเสพติด ทำให้ผู้ติดยาทั้งหลายไขว่คว้าหามาเสพ ไม่ว่าจะต้องแลกด้วยอะไรก็ตาม และก็มิใช่ว่าจะไม่รู้โทษภัยของมัน แม้ว่าจะตั้งชื่อใหม่ว่า "ยาบ้า" หรือ "ยานรก" ก็ตามที เปรียบดังคนที่มัวเมาหลงใหลในกามรส เกิดอาการหน้ามืด จนไม่กลัวเอดส์ อย่างนั้น
2. บุคคลิกภาพของผู้ติดยาเสพติด
พื้นฐานทางจิตใจของคนแต่ละคนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้บางคนหันไปพึ่งพายาเสพติด ตัวอย่างในกลุ่มคนที่ดื่มสุรา บางคนดื่มเพียงเล็กน้อยโดยสามารถมีสติพอที่จะหยุดดื่ม หรือผ่อนลง เมื่อรู้ว่าควรหยุด ในขณะที่ผู้ติดสุราจะดื่มจนครองสติไม่ได้ และรู้สึกว่า ถ้าไม่ได้ดื่มถึงขีดนั้นก็อย่าดื่มเสียดีกว่า
ผู้ที่ติดยาเสพติดมักมีพื้นฐานทางจิตใจที่อ่อนแอ ขาดความมั่นคงในบุคคลิกภาพ มีความต้องการพึ่งพิงผู้อื่นสูง มีวุฒิภาวะต่ำ ขาดความรับผิดชอบ และพยายามเลี่ยงปัญหาที่ต้องเผชิญโดยการใช้ความมึนเมาเป็นข้ออ้าง บางคนมีอาการซึมเศร้าแล้วหันไปดื่มสุรา เมื่อรักษาอาการซึมเศร้าแล้วก็เลิกดื่มสุราได้ บางรายป่วยเป็นโรคจิตอยู่แล้ว และยังชอบใช้ยาเสพติดอีกต่างหาก เมื่อเกิดอาการทางจิตขึ้น ทำให้แยกยากว่าเกิดอาการจากสาเหตุใดแน่ สาเหตุของความบกพร่องทางจิตใจของผู้ติดยาเสพติด เกี่ยวข้องกับพื้นฐานครอบครัว และการเลี้ยงดูในวัยเด็ก เช่น มีครอบครัวที่แตกแยก, ขาดความรักความเข้าใจ, สัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดี มีชีวิตที่อ้างว้างว้าเหว่, ขาดที่พึ่งทางใจ หรือถูกกดดัน คาดหวังมากเกินไปจนไม่สามารถทนได้
3. พฤติกรรม การเลียนแบบ
ปัจจัยนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ ค่านิยมของสังคมและวัฒนธรรม กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมเลียนแบบคนอื่นได้ง่ายได้แก่เด็กและคนที่ขาดเอกลักษณ์ของตนเอง หรือคนที่ไม่มีจุดยืนนั่นเอง
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเลียนแบบเพื่อนได้ง่าย และกลัวว่าตนเองจะแปลกแยกจากกลุ่มเพื่อน จึงมักทำอะไรตามเพื่อนและอาจถูกชักจูงง่าย ประกอบกับเป็นวัยที่มักมีความว้าวุ่น สับสน ทางจิตใจได้มาก จึงพบว่ายาเสพติดแพร่หลายไปได้ง่ายในหมู่วัยรุ่น สังคมไทยเป็นสังคมที่นิยมเลียนแบบคนอื่นมากกว่าจะคิดเป็นตัวของตัวเอง เห็นเขาทำอะไร ก็จะทำตามเขาบ้าง ดังคำพังเพยที่รู้จักกันมานานว่า "เห็นช้างขี้ ก็ขี้ตามช้าง" เห็นฝรั่งใส่ชุดยีนก็ใส่ตามเขาทั้งทีอากาศร้อนแทบตายอยู่แล้ว เห็นเขาดื่มไวน์ก็อยากดื่มตามเขา โดยไม่รู้ว่าเหมาะหรือควรแค่ไหน เวลาไปต่างประเทศจะมีคนส่วนหนึ่งขนเงินไปซื้อนาฬิการาคาแพง, กางเกงยีนบางยี่ห้อ, กระเป๋าบางยี่ห้อ ฯลฯ โดยที่ไม่รู้สรรพคุณด้วยซ้ำว่าสิ่งเหล่านั้นมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ขอให้ได้ทำตามเขาแล้วก็สบายใจ เราจึงพบว่าคนที่ใช้ยาเพสติดส่วนหนึ่งเริ่มต้นจากการเลียนแบบ เช่น เริ่มสูบบุหรี่ เพราะเห็นเจมส์บอนด์สูบแล้วโก้ดี หรือเห็นคนรวยเขาดื่มไวน์ขวดละแสนก็เริ่มดื่มตามเขา จะได้รู้สึกว่ามีความเป็น รัฐมนตรีหรือความเป็นเศรษฐีเกิดขึ้นในตัว บางคนอุตส่าห์เสาะแสวงหาโคเคนหรือยาเสพติดชนิดอื่นที่มีราคาแพง เนื่องจากนำเข้า จากต่างประเทศ เพราะรู้สึกว่าเป็นของสูงหายาก ใช้แล้วจะเป็นคนต่างระดับกับชาวบ้าน ทั่วไป ความจริงแล้วฤทธิ์ของมันสู้ของที่มีอยู่แล้วในบ้านเราไม่ได้เลย
4. ความยากง่ายของการหายาเสพติด
ที่ใดมียาเสพติดซื้อหาง่ายราคาถูก ที่นั่นย่อมมีการระบาดได้ง่าย ประเทศใดมีแหล่งผลิต และขบวนการค้ายาเสพติดที่เป็นล่ำเป็นสัน ประเทศนั้นก็มีปัญหายาเสพติดมาก
จากสถิติปรากฏว่าการขึ้นราคาบุหรี่แต่ละครั้งทำให้มีผู้สูบบุหรี่ลดลงทุกครั้ง เวลานี้คนติดเฮโรอีนก็ลดลงไปมาก เพราะสู้ราคาไม่ไหว แต่ยาบ้าซึ่งเคยมีราคาเม็ดละบาทสองบาท ตอนนี้ขายกันเม็ดละร้อยกว่าบาท คนเสพก็ยังมีกำลังซื้ออยู่ การที่มีผู้ผลิตหลายราย ทำให้ราคายังไม่ขึ้นไปกว่านี้ ถ้าเมื่อใดราคาสูงขึ้นจนคนเสพสู้ราคาไม่ไหว ก็จะหันไปใช้สารอื่นที่ราคาถูกกว่าต่อไปปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ประกอบกัน ทำให้การระบาดของยาเสพติดเป็นปัญหาที่ ทุกประเทศ ในโลก ต้องเผชิญ และไม่มีทีท่าว่าจะหมดไป ไม่ว่าประเทศเหล่านั้นจะมีเทคโนโลยี ก้าวหน้าเพียงใดก็ตาม
การแก้ปัญหายาเสพติดต้องแก้ทุกสาเหตุไปพร้อม ๆ กัน การส่งเสริมสุขภาพจิตครอบครัว ช่วยให้เด็กมีสุขภาพจิตดี มีพื้นฐานทางจิตใจที่มั่นคงและสามารถปฏิเสธยาเสพติดได้ ไม่ยอมให้ใครมาชักจูงได้โดยง่าย แต่ก็เป็นปัจจัยที่แก้ได้ยาก เพราะเราไม่มี ความสามารถ ไปควบคุมการเกิดของประชากรหรือไปบังคับคนที่มีแนวโน้มจะก่อปัญหา ไม่ให้มีลูกได้ เนื่องจากเป็นสิทธิมนุษยชน การมีกฎหมายที่เด็ดขาดและมีการบังคับใช้อย่างจริงจัง โดยไม่มีบุคคลทีมีอำนาจ ที่แสวงหาประโยชน์จากการค้ายาเสพติด น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้ได้ผล ดังจะเห็นได้จากประเทศเพื่อนบ้านของเราบางประเทศ ซึ่งคนในประเทศของเขา ยอมเสียเสรีภาพส่วนบุคคลบางอย่าง เพื่อแลกกับความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะใช้มาตรการทุกอย่างแล้วก็มิใช่ว่าจะทำให้ปัญหายาเสพติด หมดไปจากโลกได้ เพราะถึงอย่างไรคนก็ยังต้องการฤทธิ์บางอย่างของยาเสพติด ถ้าหากเคยได้ลิ้มลองแล้วก็มักไม่ยอมเลิกง่าย ๆ คล้ายกับสุนัขที่เคยได้ลิ้มรสอาจม แล้วอย่างนั้นแหละอีกประการหนึ่งเป็นธรรมชาติของโลกนี้ที่สัตว์เล็กย่อมเป็นอาหารของสัตว์ใหญ่ คนบางคนเกิดมาก็เพื่อเป็นเหยื่อของคนอื่นอยู่ร่ำไป จนกว่าจะเกิดการเรียนรู้ หรือฉลาดขึ้นมาเอง
หลักในการหลีกเลี่ยงและป้องกันการติดสิ่งเสพย์ติด
หลักในการหลีกเลี่ยงและป้องกันการติดสิ่งเสพย์ติด
1. เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ครู และคนอื่นๆ ที่น่านับถือและหวังดี
2. เมื่อมีปัญหาควรปรึกษาครอบครัว ครู หรือผู้ใหญ่ที่น่านับถือ ไม่ควรเก็บปัญหานั้นไว้หรือหาทางลืมปัญหาโดยใช้สิ่งเสพย์ติดช่วยหรือ ใช้เพื่อเป็นการประชด
3. หลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากผู้ติดสิ่งเสพย์ติด หรือผู้จำหน่ายสิ่งเสพย์ติด
4. ถ้าพบคนกำลังเสพสิ่งเสพย์ติด หรือจำหน่ายให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่
5. ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของสิ่งเสพย์ติด เพื่อจะได้ป้องกันตัวและผู้ใกล้ชิดให้ห่างจากสิ่งเสพย์ติด
6. ต้องไม่ให้ความร่วมมือเข้าไปเกี่ยวข้องกับเพื่อนที่ติดสิ่งเสพย์ติด เช่นไม่ให้ยืมเงิน
7. ไม่หลงเชื่อคำชักชวนโฆษณา หรือคำแนะนำใดๆ หรือแสดงความเก่งกล้าเกี่ยวกับการเสพสิ่งเสพย์ติด
8. ไม่ใช้ยาอันตรายทุกชนิดโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และควรใช้ยาที่แพทย์แนะนำให้ตามขนาดที่แพทย์สั่งไว้เท่านั้น
9. หากสงสัยว่าตนเองจะติดสิ่งเสพย์ติดต้องรีบแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบ
10. ยึดมั่นในหลักธรรมของศาสนา หรือคำสอนของศาสนาทุกศาสนา เพราะทุกศาสนามีจุดมุ่งหมายให้บุคคลประพฤติแต่สิ่งดีงามและละเว้นความชั่ว
การแก้ปัญหายาเสพติด
เราจะช่วยกันแก้ปัญหาการใช้ยาบ้า ยาอี และยาเค ในสังคมไทยได้อย่างไร?
1.การติดยา เป็นปัญหาหนัก ของสังคมปัจจุบัน บรรดาผู้ติดยาเหล่านี้ ในครั้งแรกอาจใช้ จากสาเหตุหลายอย่าง เช่น เพื่อนชักชวน การอยากลอง อยากมีประสบการณ์แปลกๆ รักสนุก หรือปัญหาครอบครัว เป็นต้น เมื่อตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของสารเสพย์ติดเหล่านี้ ผู้ใช้จะมีความรู้สึก เคลิบเคลิ้มเหมือนว่า อยู่ในอีกโลกหนึ่ง ที่แตกต่างจากโลกที่เคยพบ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงแค่ ความรู้สึกชั่วคราว ที่เกิดจากฤทธิ์ของยา ซึ่งจะหายไป เมื่อยาหมดฤทธิ์ ดังนั้นในขณะที่ใช้ยา จึงมักขาดสติ เหตุผล และความยั้งคิด และอาจก่อเรื่อง ที่จะต้องเสียใจในภายหลัง หรือแม้กระทั่งเรื่อง ที่ไม่มีโอกาสเสียใจอีกเลย ผู้ที่ติดยาจึงเปรียบเหมือน ระเบิดเวลา ที่อาจจะระเบิดออกมา เมื่อไรก็ได้ เมื่อระเบิดแล้วก็ก่อปัญหา ทั้งต่อตัวเองและสังคม
2.การใช้ยาเสพย์ติด ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพล มาจากวัฒนธรรม และสังคมต่างประเทศ โดยเฉพาะ ในกรณีของยาอี และยาเค ดังนั้นครอบครัว จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะปลูกฝัง ภูมิคุ้มกันยาเสพย์ติด ให้แก่เยาวชนของชาติ หมั่นสอดส่องดูแล ให้ความเข้าใจ และความอบอุ่น แก่บุตรหลานของท่าน เสียแต่วันนี้ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียใจ และต้องสอดส่องดูแล บุตรหลานของท่าน ภายใต้มาตรการ ของกฎหมายในวันหน้า
3.ในส่วนของตัวเยาวชนเอง ต้องรู้จักการยับยั้งชั่งใจ รู้จักปฏิเสธ หรือพูดคำว่า “ไม่” เมื่อถูกชักชวน ให้ทดลองเสพย์ยา และต้องไม่หลงไหลได้ปลื้ม ไปกับวัฒนธรรม ของคนต่างชาติ ซึ่งมีแนวความคิด ขนบธรรมเนียม และประเพณี แตกต่างจากคนไทย การใช้เวลาว่างให้ถูกต้อง โดยการเล่นกีฬา ดนตรี หรือแสวงหา ความรู้เพิ่มเติมนั้น ดีกว่าการเที่ยวรักสนุก หรือการไฝ่หาทดลอง ประสบการณ์แปลกๆ จิตใจที่เข้มแข็งมั่นคง เป็นเหมือนเกราะป้องกัน การแทรกซึม จากภัยของยาเสพย์ติด
4.การประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ความรู้ เรื่องพิษภัยของยาเสพย์ติด คงจะเป็น อีกมาตรการหนึ่ง ที่ช่วยสร้างความเข้าใจ ที่ถูกต้องแก่เยาวชนได้ การจัดค่ายอบรม เรื่องยาเสพย์ติด การจัดรายการประจำ ทางสื่อวิทยุโทรทัศน์ และคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ นิตยสารและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ตลอดจน การให้ความรู้ ทางสื่ออื่นๆ น่าจะเป็นวิถีทาง ที่เร่งเร้าจิตสำนึก ของคนไทยให้ช่วยกัน ขจัดปัญหายาเสพย์ติด อีกประการที่สำคัญ คือผู้รับผิดชอบกำกับดูแล มาตรการทางกฎหมายและสังคม คงจะต้องทำหน้าที่ อย่างเคร่งครัด และมีประสิทธิภาพ และต้องยอมรับกันว่า การแก้ปัญหา ที่ปลายเหตุคือผู้เสพย์ยา แต่เพียงอย่างเดียว ไม่น่าเป็นหนทางแก้ปัญหา ที่มีประสิทธิภาพ การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ซึ่งได้แก่การลักลอบผลิต และจำหน่าย จะช่วยส่งเสริมให้ การแก้ปัญหา ได้ผลอย่างถาวร การร่วมมือร่วมใจ ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย คงจะเป็นนิมิตรหมายอันดี ที่นำไปสู่การแก้ปัญหา อย่างมีประสิทธิภาพ การปัดปัญหา ออกจากตัว หรือการเอาแต่ ตำหนิซึ่งกันและกัน รังแต่จะชะลอปัญหา ให้คั่งค้างหมักหมม จนหนักหนาสาหัส เกินแก้ไขในที่สุด
โทษและพิษภัยของสารเสพย์ติด
โทษและพิษภัยของสารเสพย์ติด
.....เนื่องด้วยพิษภัยหรือโทษของสารเสพติดที่เกิดแก่ผู้หลงผิดไปเสพสารเหล่านี้เข้า ซึ่งเป็นโทษที่มองไม่เห็นชัด เปรียบเสมือนเป็นฆาตกรเงียบ ที่ทำลายชีวิตบุคคลเหล่านั้นลงไปทุกวัน ก่อปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพ ก่อความเสื่อมโทรมให้แก่สังคมและบ้านเมืองอย่างร้ายแรง เพราะสารเสพย์ติดทุกประเภทที่มีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อร่างกายในระบบประสาท สมอง ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการของร่างกายและชีวิตมนุษย์ การติดสารเสพติดเหล่านั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นแก่ร่างกายเลย แต่กลับจะเกิดโรคและพิษร้ายต่างๆ จนอาจทำให้เสียชีวิต หรือ เกิดโทษและอันตรายต่อครอบครัว เพื่อนบ้าน สังคม และชุมชนต่างๆ ต่อไปได้อีกมาก
.....โทษทางร่างกาย และจิตใจ
1. สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรม พิษภัยของสารเสพย์ติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย
2. ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิม
3. สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ
4. ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน
5. เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก
6. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง
ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา
7. เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม
.....โทษพิษภัยต่อครอบครัว
1. ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และญาติพี่น้องจะหมดสิ้นไป ไม่สนใจที่จะดูแลครอบครัว
2. ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ที่จะต้องหามาซื้อสารเสพติด จนจะไม่มีใช้จ่ายอย่างอื่น และต้องเสียเงินรักษาตัวเอง
3. ทำงานไม่ได้ขาดหลักประกันของครอบครัว และนายจ้างหมดความไว้วางใจ
4. สูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว นำความหายนะมาสู่ครอบครัวและญาติพี่น้อง
สาเหตุของการติดสิ่งเสพย์ติด
สาเหตุของการติดสิ่งเสพย์ติด
.....สาเหตุของการติดสิ่งเสพย์ติดมีอยู่มากมายหลายสาเหตุ โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ครอบครัวหรือผู้ปกครอง โรงเรียน หรือสถานศึกษา สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และสังคม ปัญหาจากทางร่างกายและจิตใจของคนผู้นั้น ปัญหาทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
....ซึ่งเราพอสรุปสาเหตุของการติดสิ่งเสพย์ติดเป็นข้อๆ ได ้ดังต่อไปนี้
1. สาเหตุที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
1.1 อยากทดลอง เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นซึ่งเป็นนิสัยของคนโดยทั่วไป และโดยที่ไม่คิดว่าตนจะติดสิ่งเสพย์ติดนี้ได้ จึงไปทำการทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น ในการทดลองใช้ครั้งแรกๆ อาจมีความรู้สึกดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้ายังไม่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น ก็อาจประมาทไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นอีก จนใจที่สุดก็ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น หรือถ้าไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน แม้จะเสพเพียงครั้งเดียว ก็อาจทำให้ติดได้
1.2 ความคึกคะนอง คนบางคนมีความคึกคะนอง ชอบพูดอวดเก่งเป็นนิสัย โดยเฉพาะวัยรุ่นมักจะมีนิสัยดังกล่าว คนพวกนี้อาจแสดงความเก่งกล้าของตนในกลุ่มเพื่อนโดยการแสดงการใช้สิ่งเสพย์ติดชนิดต่างๆ เพราะเห็นแก่ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และให้เพื่อนฝูงยอมรับว่าตนเก่ง โดยมิได้คำนึง ถึงผลเสียหายหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายหลังแต่อย่างไร ในที่สุดจนเองก็กลายเป็นคนติดสิ่งเสพย์ติดนั้น
1.3 การชักชวนของคนอื่น อาจเกิดจากการเชื่อตามคำชักชวนโฆษณาของผู้ขายสินค้าที่เป็นสิ่งเสพย์ติดบางชนิด เช่น ยากระตุ้นประสาทต่างๆ ยาขยัน ยาม้า ยาบ้า เป็นต้น โดยผู้ขายโฆษณาสรรพคุณของสิ่งเสพย์ติดนั้นว่ามีคุณภาพดีสารพัดอย่างเช่น ทำให้มีกำลังวังชา ทำให้มีจิตใจแจ่มใส ทำให้มีสุขภาพดี ทำให้มีสติปัญญาดี สามารถรักษาโรคได้บางชนิด เป็นต้น ผู้ที่เชื่อคำชักชวนโฆษณาดังกล่าวจึงไปซื้อตามคำชักชวนของเพื่อนฝูง ซึ่งโดยมากเป็นพวกที่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นอยู่แล้ว ด้วยความเกรงใจเพื่อน หรือเชื่อเพื่อน หรือต้องการแสดงว่าตัวเป็นพวกเดียวกับเพื่อน จึงใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น
2. สาเหตุที่เกิดจากการถูกหลอกลวง
ปัจจุบันนี้มีผู้ขายสินค้าประเภทอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มบางรายใช้สิ่งเสพย์ติดผสมลงในสินค้าที่ขาย เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้านั้นไปรับประทานเกิดการติด อยากมาซื้อไปรับประทานอีก ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ซื้ออาหารนั้นมารับประทาน จะไม่รู้สึกว่าตนเองเกิดการติดสิ่งเสพย์ติดขึ้นแล้ว รู้แต่เพียงว่าอยากรับประทานอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มที่ซื้อจากร้านนั้นๆ กว่าจะทราบก็ต่อเมื่อตนเองรู้สึกผิดสังเกตต่อความต้องการ จะซื้ออาหารจากร้านนั้นมารับประทาน หรือต่อเมื่อ มีอาการเสพย์ติดรุนแรง และมีสุขภาพเสื่อมลง
3. สาเหตุที่เกิดจากความเจ็บป่วย
3.1 การเจ็บป่วยทางกาย คนที่มีอาการเจ็บป่วยทางกายเกิดขึ้นเพราะสาเหตุต่างๆ เช่นได้รับบาดเจ็บรุนแรง เป็นแผลเรื้อรัง มีความเจ็บปวดอยู่เป็นประจำ เป็นโรคประจำตัวบางอย่าง เป็นต้น ทำให้ได้รับทุกข์ทรมานมาก หรือเป็นประจำ จึงพยายามแสวงหาวิธีที่จะช่วยเหลือตนเองให้พ้นจากความทุกข์ทรมานนั้นซึ่งวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่ายคือ การรับประทานยาที่มีฤทธิ์ระงับอาการเจ็บปวดนั้นได้ ซึ่งไม่ใช่เป็นการรักษาที่เป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย เพียงแต่ระงับอาการเจ็บปวดให้หมดไปหรือลดน้อยลงได้ชั่วขณะ เมื่อฤทธิ์ยาหมดไปก็จะกลับเจ็บปวดใหม่ ผู้ป่วยก็จะใช้ยานั้นอีก เมื่อทำเช่นนี้ไปนานๆ เกิดอาการติดยานั้นขึ้น
3.2 การเจ็บป่วยทางจิต ผู้ที่มีจิตใจไม่เป็นปกติเช่น มีความวิตก กังวล เครียด มีความผิดหวังในชีวิต มีความเศร้าสลดเสียใจ เป็นต้น ทำให้สภาวะจิตใจไม่เป็นปกติจนเกิดการป่วยทางจิตขึ้น จึงพยายามหายาหรือสิ่งเสพย์ติดที่มีฤทธิ์สามารถคลายความเครียดจากทางจิตได้ชั่วขณะหนึ่งมารับประทาน แต่ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุเมื่อยาหมดฤทธิ์ จิตใจก็จะกลับเครียดอีก และผู้ป่วยก็จะเสพสิ่งเสพย์ติด ถ้าทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้ผู้นั้นติดยาเสพย์ติดในที่สุด
3.3 การปฏิบัติไม่ถูกต้องในการใช้ยา การไปซื้อยามารับประทานเองโดยไม่ทราบสรรพคุณยาที่แท้จริง ขนาดยาที่ควรรับประทาน การรับประทานยาเกินจำนวนกว่าที่แพทย์ได้สั่งไว้ การรับประทานยาบางชนิดมากเกินขนาด หรือรับประทานติดต่อกันนานๆ บางครั้งอาจมีอาการถึงตายได้ หรือบางครั้งทำให้เกิดการเสพติดยานั้นได้
4. สาเหตุอื่นๆ
4.1 การอยู่ใกล้ชิดกับแหล่งสิ่งเสพย์ติด การอยู่ใกล้แหล่งขายหรือใกล้แหล่งผลิต หรือ เป็นผู้ขายหรือผู้ผลิตเอง จึงทำให้มีโอกาสติดสิ่งเสพย์ติดให้โทษนั้นมากกว่าคนทั่วไป
4.2 การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดสิ่งเสพย์ติด เมื่อมีเพื่อนสนิทหรือพี่น้องที่ติดสิ่งเสพย์ติดอยู่ ผู้นั้นย่อมได้เห็นวิธีการเสพ ของผู้ที่อยู่ใกล้ชิด รวทั้งใจเห็นพฤติกรรมต่างๆ ของเขาด้วย และยังอาจได้รับคำแนะนำหรือชักชวนจากผู้เสพด้วย จึงมีโอกาสติดได้
4.3 สภาพแวดล้อมทางสังคม คนบางคนอยู่ในสภาพที่มีปัญหา เช่น ว่างงาน ยากจน ค่าใช้จ่ายเพิ่มโดยมีรายได้ลดลง หรือคงที่ มีหนี้สินมาก ฯลฯ เมื่อแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้ก็หันไปใช้สิ่งเสพย์ติด ช่วยผ่อนคลายความรู้สึกในความทุกข์ยากต่างเหล่านี้ แม้จะรู้ว่าเป็นชั่วครู่ชั่วยามก็ตาม เช่น กลุ้มใจที่เป็นหนี้คนอื่นก็ไปกินเหล้าหรือสูบกัญชาให้เมาเพื่อที่จะได้ลืมเรื่องหนี้สิน บางคนต้องการรายได้เพิ่มขึ้นโดยพยายามทำงานให้หนักและมากขึ้นทั้งๆ ที่ร่างกายอ่อนเพลียมากจึงรับประทานยากระตุ้นประสาทเพื่อให้สามารถทำงานต่อไปได้ เป็นต้น ถ้าทำอยู่เป็นประจำทำให้ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นได้
4.4 การเลียนแบบ การที่ไปเห็นผู้ที่ตนสนิทสนมรักใคร่เหรือเพื่อนเสพสิ่งเสพย์ติด จึงเห็นว่าเป็นสิ่งน่าลอง เป็นสิ่งโก้เก๋ เป็นสิ่งแสดงความเป็นพวกเดียวกัน จึงไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นจนติด
4.5 การประชดชีวิต คนบางคนมีความผิดหวังในชีวิตตนเอง ผิดหวังในชีวิตครอบครัว หรือผิดหวังในชีวิตสังคม เพื่อเป็นการประชดตนเองหรือคนอื่น จึงไปใช้สิ่งเสพย์ติดจนติด ทั้งๆ ที่ทราบว่าเป็นสิ่งไม่ดี ก็ตาม
สิ่งเสพติดประเภทต่างๆ
สิ่งเสพย์ติดในปัจจุบันนี้ เท่าที่ทั่วโลกได้ค้นพบและพิสูจน์แล้ว ปรากฏว่ามีสิ่งเสพย์ติดที่แบ่งตามสภาพของยาไม่ต่ำกว่า 116 ชนิด ทั้งนี้ไม่นับยารักษาโรคทั่วๆ ไปที่นำมาใช้เสพกันเป็นประจำจนกลายเป็นสิ่งเสพย์ติด อย่างไรก็ตาม
เราสามารถจำแนกสิ่งเสพย์ติดชนิดต่างๆ ที่แพร่ระบาดอยู่ในประเทศไทยออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.จำแนกตามคุณสมบัติการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท
1.1 สิ่งเสพย์ติดประเภทกดประสาท คือ สิ่งเสพย์ติดที่เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะไปกดประสาท ส่วนต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดอาการมึนงงชาต่อสมองและทำให้ประสาทที่ควบคุมส่วนต่างๆของร่างกายบางส่วนหยุดทำงานหมดความ เป็นตัวของตัวเองไปชั่วขณะ สิ่งเสพย์ติดที่จัดอยู่ในประเภทนี้ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เซคแคนนอลหรือ
เซคโคบาร์บิทาน พวกยานอนหลับ และยากล่อมประสาทต่างๆ รวมทั้งเหล้าก็จัดอยู่ในสิ่งเสพย์ติดประเภทนี้ด้วย
1.2 สิ่งเสพย์ติดประเภทกระตุ้นประสาท คือ สิ่งเสพย์ติดที่เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะไปออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานตามฤทธิ์ของยา ซึ่งอาจจะเกินขีดความสามารถของร่างกาย ดังนั้นเมื่อหมดฤทธิ์ยาแล้วจะทำให้ส่วนต่างๆ เหล่านั้นทรุดโทรมเสื่อมสมรรถภาพได้ ซึ่งถ้ายาประเภทนี้อยู่นานๆ อาจจะกลายเป็นคนวิกลจริตประสาทหลอน หรือหัวใจวายถึงตายได้ สิ่งเสพย์ติดที่จัดอยู่ในประเภทนี้ได้แก่ สิ่งเสพย์ติดประเภทแอมแฟตามีน หรือเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า ยาม้า ยาบ้า ยาขยัน นอกจากนี้ก็เป็นจำพวกยาลดความอ้วน ยากระตุ้นประสาทที่ผสมในเครื่องดื่มต่างๆ พวกคาเฟอีนในกาแฟ และพวกโคเคอีนในพวกโคคา
1.3 สิ่งเสพย์ติดประเภทหลอนประสาท คือ สิ่งเสพย์ติดที่เมื่อเสพเข้าไปแล้วทำให้ผู้เสพมีอาการฝันเฟื่อง จิตหลอน เห็นแต่ภาพลวงตา ควบคุมตัวเองไม่ได้ มึนเมาอยู่ในความฝันทั้งร้ายและดี ประสาทรับความรู้สึกต่างๆจะแปรปรวนไปหมด บางครั้งผู้เสพอาจจะทำอันตรายแก่ชีวิตตนเองและผู้อื่นได้ สิ่งเสพย์ติดประเภทนี้ได้แก่ แอลเอสดี เมสคาลิน ไซไลซิบิน เอสทีพี เป็นต้น
1.4 สิ่งเสพย์ติดประเภทออกฤทธิ์หลายอย่าง คือ สิ่งเสพย์ติดที่ใช้แล้วจะออกฤทธิ์ต่อร่างกายหลายอย่าง คือ ออกฤทธิ์ทั้งกดประสาท และหลอนประสาท ได้แก่ กัญชา ซึ่งทำให้มีอาการหลงผิด เกิดความเสื่อมโทรมทั้งสุขภาพทางกายและทางจิต ใช้ไปนานๆ จะทำลายประสาท เกิดประสาทหลอน และมีอาการของโรคจิต
2. จำแนกตามลักษณะการเกิด
2.1 สิ่งเสพย์ติดตามธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ สิ่งเสพย์ติดที่ได้จากการสกัดจากพืชบางชนิด ได้แก่ กัญชา และใบกระท่อม เป็นต้น
2.2 สิ่งเสพย์ติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ สิ่งเสพย์ติดที่ผลิตขึ้นตามกรรมวิธีทางเคมี ได้แก่ โคเคอีน เฮโรอีน มอร์ฟีน พีธคีน เป็นต้น
ยาเสพติด ติดได้อย่างไร
.ยาบ้า ยาอี และยาเค ทำให้ติดยาได้หรือไม่ ถ้าได้อะไรเป็นสาเหตุ ทำให้ติดยา และผลเสียของ การติดยาดังกล่าว เป็นอย่างไร?
.....โดยทั่วไป ลักษณะการติดยา มีอยู่สองแบบคือ การติดโดยร่างกาย และการติดโดยจิตใจ
.....การติดโดยร่างกาย หมายถึงสภาวะที่ร่างกาย ทำหน้าที่ภายใต้อิทธิพล ของยาจนเคยชิน เมื่อหยุดใช้ยา ร่างกายจะทำหน้าที่ ดังเดิมไม่ได้ และเกิดอาการขาดยา หรือลงแดง (Withdrawal symptoms) รุนแรง ซึ่งมักเป็นอาการ ตรงข้ามกับผลของยา และเมื่อได้รับยาเดิม อาการก็จะหายไป ส่วนการติดโดยจิตใจ หมายถึงผู้ใช้พึงพอใจกับผล และความรู้สึกที่เกิดจากยา เมื่อหยุดใช้ยา มักไม่เกิดอาการขาดยา หรืออาการไม่รุนแรง แต่จะมีความรู้สึกอยาก หงุดหงิด และพยายามแสวงหายา มาใช้เหมือนเดิม
..... ยาทั้งสามตัวนี้ ก่อให้เกิดการติดยาได้ทั้งนั้น แต่จะมีแนวโน้ม โอกาส และผลสืบเนื่อง แตกต่างกันไป ในสภาพปัจจุบัน ยาบ้าเป็นยา ที่ติดได้ง่ายที่สุด รองลงมาคือยาอี ส่วนยาเค ก็มีโอกาสติดได้
..... ยาบ้าทำให้ติดยา ได้ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยอาการขาดยาบ้าได้แก่ อ่อนเพลียหมดเรี่ยวแรง หิวจัด นอนหลับลึก และยาวนานตั้งแต่ 24-48 ชั่วโมง ซึมเศร้าหดหู่ วิตกกังวล อาการทางจิตประสาท อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้ ไม่ใช่ข้ออ้างสำหรับ การใช้ยาบ้าต่อไป เพราะการเลิกยาบ้า เป็นวิธีแก้ปัญหา ที่ถาวรและดีกว่ามาก เมื่อเลิกยาบ้าได้ สุขภาพร่างกาย และจิตใจจะดีขึ้น สามารถแสวงหาความสุขอื่น ได้อีกมากมาย
.....ส่วนยาอีมีคุณสมบัติส่วนใหญ่เหมือนยาบ้า จึงทำให้เกิดการติดยาได้ และมีลักษณะ ของการติดยา คล้ายกับยาบ้า แต่การติดยาอี ยังไม่แพร่หลาย เหมือนยาบ้า ยังจำกัดในวงสังคมชั้นสูง เนื่องจากหาซื้อยาก และราคาแพงมากเนื่องจากการใช้ยาเค ส่วนใหญ่มักใช้เป็นครั้งคราว ดังนั้นข้อมูล เกี่ยวกับการติดยาเค ยังมีจำกัด แต่ยานี้มีคุณสมบัติพื้นฐาน คล้ายยาเสพย์ติด โดยทั่วไป จึงคาดว่า ทำให้เกิดการติดยาได้
ยาที่ใกล้เคียงยาเสพติด
มียาอื่นซึ่งมีคุณสมบัติ และการใช้คล้ายยาบ้า ยาอี และยาเคหรือไม่ ถ้ามีคือยาอะไรบ้าง?
.....มียาและสารหลายตัว ที่มีคุณสมบัต กระตุ้นระบบประสาท คล้ายกับยาบ้าและยาอี ตัวอย่าง เช่น ยา Love (MDA) ซึ่งได้ชื่อมาจาก ผลของยาที่ทำให้ ผู้ใช้มีความขวยเขิน และความอับอายลดลง รู้สึกอยากพูดคุย ปฏิสันถานกับคนอื่น อีเฟรดีน โคเคน คาเฟอีน ส่วนยาและสาร ที่ทำให้เกิดภาวะ ประสาทหลอน คล้ายยาเค ได้แก่ PCP, LSD สารในเห็ดขี้ควาย กัญชา
.....ยาเสพย์ติด ที่เริ่มเป็นปัญหา ของสังคมอึกตัวคือ โคเคน ซึ่งสะกัดแยก มาจากใบของต้นโคคา มีฤทธิ์และผลต่อร่างกาย และจิตใจคล้ายยาบ้ามาก แต่ก็มีข้อแตกต่าง อยู่บ้างบางประการ ประการแรก โคเคนมีผลอยู่ได้สั้น เพียงประมาน 30 นาที หลังจากใช้ยา ขณะที่ยาบ้า มีผลอยู่ได้นานถึง 4-6 ชั่วโมง ซึ่งคุณสมบัตินี้ ทำให้ในต่างประเทศ นิยมใช้โคเคน ในหมู่นักกีฬาอาชีพ และดารา เนื่องจากสามารถ เลือกใช้ผลยาตามเวลา ที่ต้องการได้ ประการที่สอง โคเคนเกิดการชินยา (Tolerance) ได้ช้า ซึ่งทำให้ไม่จำเป็นต้อง เพิ่มปริมาณยาที่เสพย์ มากขึ้นทุกครั้ง ในการใช้ยา ขณะที่ยาบ้า เกิดการชินยาได้เร็ว ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณยา มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ได้ผลกระตุ้น ระบบประสาท และจิตอารมณ์เหมือนเดิม ในบางครั้งต้องใช้ยา มากกว่าครั้งแรก 5-10 เท่า ซึ่งทำให้เสี่ยง ต่อพิษของยามากขึ้น ประการที่สาม โคเคนนั้นมีทางเลือก ในการเสพมากกว่ายาบ้า สามารถเสพโดยการสูด หรือการนัตถุ์ยาได้ และประการสุดท้าย โคเคนมีราคาแพง มากกว่ายาบ้า
ความหมายของยาเสพติด
ความหมายของยาเสพติด
ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธี
รับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง
ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้
๑. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
๒. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
๓. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
๔. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ
ความหมายโดยทั่วไป
ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อบุคคลใดเสพหรือได้รับเข้าไปในร่างกายซ้ำๆ กันแล้วไม่ว่า ด้วยวิธีใดๆ เป็นช่วงระยะๆ หรือนานติดต่อกันก็ตาม จะทำให้
1. บุคคลนั้นต้องตกอยู่ใต้อำนาจหรือเป็นทาสของสิ่งนั้นทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือจิตใจเพียงอย่างเดียว
2. ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ หรือทำ ให้สุขภาพของผู้เสพติดเสื่อมโทรมลง
3. เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพจะมีอาการผิดปกติทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือเฉพาะทางด้านจิตใจเกิดขึ้นในผู้เสพ
ความหมายตามกฎหมาย
ยาเสพติดให้โทษ หมายความว่า สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ
ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญเช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ มีอาการถอนยา
เมื่อขาดยามีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กลับให้รวม
ถึงพืช หรือ ส่วนของพืชที่เป็น หรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมี ที่ใช้ใน
การผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความ
ถึง ยาสำคัญประจำบ้านบางตำรับตามที่กฎหมายว่าด้วยยาที่มี ยาเสพติดให้โท
ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธี
รับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง
ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้
๑. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
๒. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
๓. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
๔. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ
ความหมายโดยทั่วไป
ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อบุคคลใดเสพหรือได้รับเข้าไปในร่างกายซ้ำๆ กันแล้วไม่ว่า ด้วยวิธีใดๆ เป็นช่วงระยะๆ หรือนานติดต่อกันก็ตาม จะทำให้
1. บุคคลนั้นต้องตกอยู่ใต้อำนาจหรือเป็นทาสของสิ่งนั้นทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือจิตใจเพียงอย่างเดียว
2. ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ หรือทำ ให้สุขภาพของผู้เสพติดเสื่อมโทรมลง
3. เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพจะมีอาการผิดปกติทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือเฉพาะทางด้านจิตใจเกิดขึ้นในผู้เสพ
ความหมายตามกฎหมาย
ยาเสพติดให้โทษ หมายความว่า สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ
ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญเช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ มีอาการถอนยา
เมื่อขาดยามีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กลับให้รวม
ถึงพืช หรือ ส่วนของพืชที่เป็น หรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมี ที่ใช้ใน
การผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความ
ถึง ยาสำคัญประจำบ้านบางตำรับตามที่กฎหมายว่าด้วยยาที่มี ยาเสพติดให้โท
วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ประวัติยาเสพติด
ในประเทศไทย
ยาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาของชาติอยู่ในขณะนี้ มีประวัติความเป็นมาอย่างไรเป็น สิ่งที่น่าสนใจ เพราะมนุษย์ได้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมาเป็นเวลาช้านาน บางชนิดก็ให้ทั้งคุณประโยชน์และโทษ บางชนิดก็มีแต่โทษภัยเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันมียาเสพติดชนิดต่าง ๆ ในท้องตลาดมากกว่า 120 ชนิด อย่างไรก็ตามยาเสพติดชนิดแรกที่คนไทยรู้จักก็คือ
ฝิ่น
ฝิ่นเข้ามาในประเทศไทยในสมัยใดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด เท่าที่มีหลักฐานครั้งแรก เป็นประกาศใช้กฎหมายลักษณะโจรในสมัยรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1903 หรือ ประมาณ 600 ปีล่วงมาแล้ว ตามกฎหมายฉบับนี้ ได้บัญญัติการห้ามซื้อ ขาย เสพฝิ่นไว้ว่า "ผู้สูบฝิ่น กินฝิ่น ขายฝิ่นนั้น ให้ลงพระราชอาญาจงหนักหนา ริบราชบาทว์ให้สิ้นเชิง ทเวนบกสามวัน ทเวนเรือสามวัน ให้จำใส่คุกไว้จนกว่าจะอดได้ ถ้าอดได้แล้วเรียกเอาทานบนแก่มันญาติพี่น้องไว้แล้ว จึงให้ปล่อยผู้สูบ ขาย กินฝิ่น ออกจากโทษ" แม้ว่าบทลงโทษจะสูง แต่การลักลอกซื้อขายและเสพฝิ่นก็ยังมีต่อมาโดยตลอด กฎหมายคงใช้ได้แต่ในกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น ส่วนหัวเมือง และ เมืองขึ้นที่ห่างพระเนตรพระกรรณ ไม่มีการเข้มงวดกวดขัน ซึ่งปรากฎว่า ผู้ครองเมืองบางแห่งก็ติดฝิ่น และ ผูกขาดการจำหน่ายฝิ่นเสียเองด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ปัญหาการขายฝิ่น เสพฝิ่น จึงเลิกไม่ได้ตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา
ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงแจกกฎหมายป่าวร้องห้ามปรามผู้ขาย ผู้สูบฝิ่นแต่ก็ยังไม่มีผล ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงได้ทรงตราพระราชกำหนดโทษให้สูงขึ้นไปอีก "ห้ามอย่าให้ผู้ใดสูบฝิ่น กินฝิ่น ซื้อฝิ่นขายฝิ่น และ เป็นผู้สมซื้อสมขายเป็นอันขาดทีเดียวถ้ามิฟังจับได้ และมีผู้ฟ้องร้องพิจารณาเป็น สัจจะให้ลงพระอาญา เฆี่ยน 3 ยก ทเวนบก 3 วัน ทเวนเรือ 3 วัน ริบราชบาทว์ บุตรภรรยา และ ทรัพย์สิ่งของให้สิ้นเชิง ให้ส่งตัว ไปตะพุ่นหญ้าช้าง ผู้รู้เห็นเป็นใจมิได้เอาความมาว่ากล่าว จะให้ลง พระอาญาเฆี่ยน 60 ที"
ในรัชกาลที่ 3 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นระยะที่ตรงกับสมัยที่อังกฤษนำฝิ่นจากอินเดีย ไปบังคับขาย ให้จีนทำให้มีคนจีนติดฝิ่นเพิ่มขึ้น และ ในช่วงเวลานั้น ตรงกับระยะที่คนจีนเข้ามาค้าขายในเมืองไทยมากขึ้น จึงเป็นการนำฝิ่นและผู้ติดฝิ่นเข้ามาในเมืองไทย ตลอดจนมีการลักลอบนำฝิ่นเข้ามาในเมืองไทยด้วยเรือสินค้าต่าง ๆ มาก จึงเป็นเหตุให้การเสพฝิ่นระบาดยิ่งขึ้น พระองค์จึงได้ทรงมีบัญชาให้มีการปราบปรามอย่างเข้มงวดกวดขันในปี พ.ศ. 2382 ทำให้การค้าฝิ่นและสิ่งอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมายเข้าไปอยู่ในมือของกลุ่มอั้งยี่ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ และหัวเมืองชายทะเล สร้างความวุ่นวายจากการทะเลาะวิวาทระหว่างกลุ่มอั้งยี่ต่าง ๆ จนต้องทำให้ทหารปราบปราม
ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าการปราบปรามไม่สามารถขจัดปัญหาการสูบ และขายฝิ่นได้ และก่อให้เกิดความยุ่งยากวุ่นวายขึ้น จึงทรงเปลี่ยนนโยบายใหม่ ยอมให้คนจีนเสพและขายฝิ่นได้ตามกฎหมาย แต่ต้องเสียภาษีผูกขาดมีนายภาษีเป็นผู้ดำเนินการ ปรากฏว่าภาษีฝิ่นทำรายได้ให้แก่ประเทศไทยมาก ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงรวบรวมไว้ในหนังสือลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ใน "ตำนานภาษีฝิ่น" ว่าภาษีที่ได้นั้นประมาณว่าถึงปีละ 4 แสนบาท
ใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติซึ่งปกครองประเทศไทยอยู่ในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่า การเสพฝิ่นเป็นที่รังเกียจใน วงการสังคม และเป็นอันตรายแก่สุขภาพและอนามัยอย่างร้ายแรง ประเทศต่าง ๆ ได้พยายามเลิกการเสพฝิ่นโดยเด็ดขาดแล้ว จึงเห็นเป็นการสมควรให้เลิกการเสพฝิ่น และ จำหน่ายฝิ่นในประเทศไทย จึงมีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ให้เลิกการเสพฝิ่น และ จำหน่ายทั่วราชอาณาจักร และ กำหนดดำเนินการให้เสร็จสิ้นเด็ดขาดภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2502
โดยกำหนดการตามลำดับดังนี้
1. ประกาศให้ผู้เสพฝิ่นขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เสพฝิ่นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2501
2. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2502 ห้ามมิให้ร้านฝิ่นจำหน่ายฝิ่นแก่ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตให้สูบฝิ่น
3. ยุบเลิกร้านจำหน่ายฝิ่นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2502
4. ให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันจัดตั้งสถานพยาบาล และพักฟื้นผู้อดฝิ่น
5. ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2502 ผู้กระทำผิดฐานเสพฝิ่นหรือมูลฝิ่น
นอกจากนี้ยังได้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยฝิ่น เพิ่มโทษผู้ละเมิดให้สูงขึ้น ซึ่งได้ประกาศใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2502 เป็นต้นมา จากประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวข้างต้น เป็นอันว่านับแต่รุ่งอรุณ ของวันที่ 1 กรกฎาคม 2502 การเสพ และจำหน่ายฝิ่นในประเทศไทยก็เป็นสิ่งผิดกฎหมาย นอกจากรัฐบาลจะได้จัดให้ผู้ติดฝิ่นเข้ารับการบำบัดรักษา และฟื้นฟูแล้ว ปรากฏว่าการปราบปรามก็ได้กระทำเด็ดขาดยิ่งขึ้น มีการประหารชีวิตผู้ผลิต และ ค้ายาเสพติด แต่ปัญหายาเสพติดไม่ได้ลดลง เพียงแต่ การซื้อขายมีการดำเนินการซ่อนเร้น และ มีวิธีการที่ลึกซึ้งแยบยลยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ตัวยาเสพติด ได้เปลี่ยนรูปไปเป็นเฮโรอีน ซึ่งผลิตด้วยการเปลี่ยนตัวยาสำคัญในฝิ่น คือ มอร์ฟีน ด้วยวิธีทางเคมีเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์ร้ายแรงกว่าฝิ่นก็กลับระบาดในเมืองไทย พบครั้งแรกราวเดือนกันยายน พ.ศ. 2502 เฮโรอีนได้ระบาดในหมู่ติดฝิ่นอยู่เดิม เพราะสูบได้ง่ายใช้เผาในกระดาษตะกั่วแล้วสูดไอไม่ต้องมีบ้องฝิ่น และไม่มีกลิ่นเวลาสูบ การหลบหนีกฎหมายก็ทำได้ง่ายกว่าการสูบฝิ่นปัจจุบัน
ปัญหายาเสพติดที่ปรากฏอยู่ในหมู่คนไทยมีรูปแบบต่าง ๆ กันและลักษณะปัญหาแตกต่างกันออกไป ชาวไทยภูเขาที่อาศัยในภาคเหนือของประเทศไทย ส่วนหนึ่งมีอาชีพหลักในการปลูกฝิ่น และมีจำนวนไม่น้อยที่สูบและติดฝิ่นด้วยในหมู่ชาวไทยในชนบทพื้นราบ ก็มีการสูบฝิ่น ใช้ใบกระท่อม กัญชา ยาม้าหรือยาขยันและยาแก้ปวด อยู่อย่างแพร่หลาย ปัญหาที่ร้ายแรงตามมาคือ การแพร่ระบาดของการติดยาเสพติดหลายชนิดปนกันอยู่ในขณะนี้ทั้งในต่างจังหวัดและในเขต กรุงเทพมหานคร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)